วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของหลักสูตร

ความหมายของหลักสูตร
มาจากคำภาษาละตินว่า Racecourse แต่เมื่อนำมาใช้ในทางการศึกษาคำว่าหลักสูตร มีความหมายได้หลายอย่างแต่เดิมมีความหมายว่าเป็นรายการกระบวนการวิชาการ ต่อมาคำนี้ได้ขยายออกไปขยายมากขึ้นนักพัฒนาหลักสูตรที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถอธิบายความหมายได้กว้างกว่านักพัฒนาหลักสูตรที่มีแนวคิดดั้งเดิม ซึ่งมักจะให้ความหมายของหลักสูตรแคบๆเช่นที่กล่าวมาแล้ว ความหมายหลักสูตรที่มาจากคนๆเดียวอาจมีมากมาย ตัวอย่างเช่น
- หลักสูตรคือแผนการเรียน
- หลักสูตรประกอบด้วยเป้าหมาย และจุดประสงค์เฉพาะที่จะนำเสนอและจัดการเนื้อหา ซึ่งจะรวมถึงแบบของการเรียนการสอนตามจุดประสงค์และท้ายที่สุดจะต้องมีการประเมินผลลัพธ์ของการเรียน
นักการศึกษาหลายคนมักจะให้ความหมายของหลักสูตรว่าเป็นแผนการจัดกิจกรรมส่วน เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor & Alexander,1966:5) อธิบายความแตกต่างระหว่างแผนการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนได้ดำเนินการจริงไว้ว่า หลักสูตรคือกิจกรรมทั้งมวลที่โรงเรียนจัดให้นักเรียนและการวางแผนหลักสูตรเป็นการเตรียมการให้โอกาสกับผู้เรียน ซึ่งอาจกล่าวสรุปว่า คู่มือหลักสูตรก็คือการวางแผนหลักสูตรนั้นเอง
นอกจากนั้นได้มีผู้ให้นิยามศัพท์คำว่า หลักสูตรไว้ต่างๆกันดังนี้
- เป็นลำดับประสบการณ์ที่โรงเรียนจัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถคิดและปฏิบัติตามที่ตั้งจุดหมายไว้
- เป็นประสบการณ์ทั้งหมดที่เด็กได้รับภายใต้การแนะนำของครู
- เป็นประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้เรียนได้รับภายใต้การดำเนินการที่โรงเรียนจัดให้
จากคำนิยามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรเน้นที่ประสบการณ์มากกว่าเนื้อหา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนตามแนวปรัชญาการศึกษาแบบพัฒนาการ (เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ 1920 -1940 ) แนวปรัชญานี้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาจากการเน้นเนื้อหาวิชาการ (Subject Centered ) มาเป็นเน้นผู้เรียน (Student Centered )
อย่างไรก็ตาม การที่จะนิยามคำว่าหลักสูตรให้เป็นนิยามที่ชัดเจนและยอมรับกันทั่วไปนั้น ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขาดประชาพิจารณ์ร่วมกัน สาเหตุที่ทำให้ไม่อาจมีการประชุมร่วมกันได้เพราะพัฒนาการทางทฤษฏีหลักสูตรยังไม่พัฒนาเนื่องจากขาดปัจจัยต่างๆสนับสนุน เป็นต้นว่า การสนับสนุนด้านการเมือง และความล้มเหลวที่เกิดจากนักการศึกษาต้องการนำผลการประชาพิจารณ์ไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการของโรงเรียน (Wiles and Bondi , 1993 :15 )

โอลิวา (Oliva,1992:5-6) ได้นำคำนิยามต่างๆ ของหลักสูตรเรียบเรียงไว้ดังนี้
หลักสูตรคือ
- สิ่งที่ใช้สอนในโรงเรียน
- ชุดวิชาที่เรียน (Set of Subjects )
- เนื้อหา (Content )
- โปรแกรมการเรียน(Program of Studies )
- ชุดของสิ่งที่ใช้ในการเรียนการสอน (Set of Materials )
- ลำดับของกระบวนการวิชา (Sequence of Courses )
- จุดประสงค์ที่นำไปปฏิบัติ (Perfomance Objectives)
- กระบวนวิชาที่ศึกษา (Course of Study )
- ทุกสิ่งที่ดำเนินการในโรงเรียน รวมทั้งกิจกรรมนอกห้องเรียน การแนะแนวและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- สิ่งที่สอนทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนที่โรงเรียนเป็นผู้จัด
- ทุกสิ่งที่กำหนดขึ้นโดยบุคคลในโรงเรียน
- ลำดับของกิจกรรมในโรงเรียนที่ดำเนินการโดยผู้เรียน
- ประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งเกิดจากระบบการจัดการของโรงเรียนเพื่อให้เกิดความหมายของหลักสูตรชัดเจนยิ่งขึ้น เฮนเซน (Hensen,1995:8)ได้นำมาเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน


องค์ประกอบหลักสูตร
องค์ประกอบหลักสูตรหมายถึงส่วนที่อยู่ภายในและประกอบกันเข้าเป็นหลักสูตร เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ความหมายของหลักสูตรสมบูรณ์ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรไปด้วย
ตามแนวคิดของนักการศึกษา ได้กล่าวถึงองค์ประกอบไว้ดังนี้
1 . ไทเลอร์ (Ralph Tyler ,1968 :1 ) กล่าวว่าโครงสร้างของหลักสูตรมี 4 ประการคือ
1.1 จุดมุ่งหมาย (Educational Purpose ) ที่โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียนเกิดผล
1.2 ประสบการณ์ (Educational Experience ) ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อให้จุดมุ่งหมายบรรลุผล
1.3 วิธีการจัดประสบการณ์ (Organizational of Educational Experience ) เพื่อให้การสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 วิธีการประเมิน (Determination of what to Evaluate ) เพื่อตรวจสอบจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
2. ทาบา (Hilda Taba 1962 :422-423) กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตร 4 องค์ประกอบคือ
- วัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ
- เนื้อหาและจำนวนชั่วโมงสอนแต่ละวิชา
- วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
- วิธีการประเมินผล


องค์ประกอบดังกล่าวสามารถแสดงความสัมพันธ์ภายในได้ดังนี้

ภาพองค์ประกอบของหลักสูตร


3. องค์ประกอบของหลักสูตรในเชิงระบบ
โบแชมพ์ ( George Beauchamp, 1968 : 108 ) เป็นผู้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรในเชิงระบบ คือส่วนที่ป้อนเข้า (Input ) กระบวนการ (Process ) และผลลัพธ์ที่ได้ (Output)
โครงสร้างของหลักสูตรชิงระบบ
ส่วนที่ป้อนเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์
-เนื้อหาวิชา -ลักษณะการใช้ -ความรู้
-ผู้เรียน -สื่อ/อุปกรณ์ -ทักษะ
-ชุมชน -ระยะเวลา -เจตคติ
-พื้นฐานการศึกษา -การวัดผล -ความมั่นใจ




ทฤษฏีหลักสูตร
หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตร โดยชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆชี้นำแนวทางการพัฒนาใช้และการประเมินผล หลักสูตรประกอบกัน แมคเซีย (Maccia ) ได้สร้างทฤษฎีหลักสูตรขึ้น 4 ทฤษฏี
1. ทฤษฎีแม่บท ( Formal Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีหลักที่กล่าวถึงหลักการกฎเกณฑ์ทั่วๆไปตลอดถึงโครงสร้างของหลักสูตร
2. ทฤษฎีเนื้อหา ( Curriculum Reality Theory ) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับเนื้อหาและกล่าวถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ
3. ทฤษฎีจุดประสงค์ ( Volitional Curriculum Theory ) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายของหลักสูตร และกล่าวถึงว่าวัตถุประสงค์นั้นได้มาอย่างไร
4. วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างไร
ในการสร้างทฤษฎีหลักสูตร เคอร์ (Kerr) กล่าวว่ามีวิธีการสร้างอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ วิธีอนุมาน ( Deductive Approach )และวิธีอุปมาน
1. วิธีอนุมาน เป็นวิธีที่อาศัยความรู้จากศาสตร์อื่นมารวมกันเพื่อสร้างทฤษฎีขึ้นใช้วิธีการนำเอาสิ่งกับสมมติฐานและกฎเกณฑ์ในศาสตร์อื่นมา แล้วนำเอาศัพท์ทางการศึกษาใช้แทนลงไป เช่น ทฤษฎีแมคเซีย เป็นต้น
2. วิธีอุปมาน เป็นการรวมเอาทฤษฎีนี้บ้างมาผสมกันอาศัยข้อมูลที่สังเกตได้เป็นเครื่องชี้นำต่อไปก็ตั้งสมมติฐานและกฎเกณฑ์ที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาหลักสูตรขึ้น
ความหมายต่างๆของหลักสูตร การวางแผนพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องอาศัยความเชื่อและทฤษฎีต่างๆ ทางการศึกษา ซึ่งมีนักการศึกษาได้กำหนดไว้หลายแนวดังนี้
1. หลักสูตรเป็นวิชาและเนื้อหาวิชา ผู้มองหลักสูตรในแนวนี้คือ ผู้ที่ยึดลัทธิสัจนิยม ( Perennialism ) และสาระนิยม
( Essentialism ) ตลอดจนผู้ที่ถือว่าการศึกษาคือการฝึกวินัยทางจิต ( Mental Discipline ) ซึ่งเห็นว่าหลักสูตรในโรงเรียนควรประกอบด้วยวิชาที่สำคัญที่จะธำรงไว้ซึ่งคุณลักษณะแห่งความเป็นมนุษย์และเป็นการฝึกสมองเช่น วิชาที่ยากๆโดยเฉพาะการศึกษาโครงสร้างของวิชาต่างๆ ที่จัดเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจนเช่น โครงสร้างของวิชาคณิตศาสตร์เป็นตรรกศาสตร์โดยเฉพาะการหาเหตุผลแบบอนุมาน ข้อสังเกตสำหรับการกำหนดหลักสูตรในแนวนี้คือ ไม่ได้ให้ความสนใจและความสำคัญในผู้เรียน (ซึ่งองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาหลักสูตร)
2. หลักสูตรเป็นประสบการณ์ ยึดลัทธิก้าวหน้านิยม (Progressivism) โดยเชื่อว่าวัฒนธรรมคือ สิ่งแวดล้อมของสังคม คนจะต้องยอมรับสภาพของสังคม และปรับสภาพของสังคมให้ดีขึ้น จึงยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางโดยดูความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักในการสอนและการจัดประสบการณ์ให้เขา หลักสูตรจึงหมายถึงประสบการณ์ทั้งมวลที่นักเรียนจะพึ่งได้รับภายใต้การนำของครู
3. หลักสูตรเป็นจุดประสงค์ ถือว่าการสอนเป็นหนทางอย่างหนึ่งที่จะนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
4. หลักสูตรเป็นแผนการ หลักสูตรคือแผนการที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เป็นสิ่งที่เกิดจากความตั้งใจและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเพ่งเล็งไปที่จุดมุ่งหมายของการศึกษา รวมถึงการจัดวางหลักสูตรไปใช้ในด้านการปฏิบัติคือ การสอนและการประเมินผลหลักสูตรเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
5. หลักสูตรเป็นระบบการผลิต มองการให้การศึกษาเช่นเดียวกับระบบการผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงทุนที่ได้ลงไปกับผลที่ตามออกมา จึงพยายามทำหลักสูตรให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเช่น เขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม มีการวิเคราะห์งาน วิเคราะห์กิจกรรม ดังเช่น หลักสูตรระดับมัธยมศึกษา พ.ศ.2521

ประเภทของหลักสูตร
1. หลักสูตรเนื้อหาวิชา ( Subject Matter Curriculum ) เช่นวิชาคณิตศาสตร์แบ่งเป็นวิชาย่อยๆคือ เลขคณิต เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ สถิติ ฯลฯทำให้เกิดข้อเสียหลายประการเพราะแบ่งแยกเนื้อหาวิชาเป็นส่วนย่อยเกินไป ทำให้แต่ละวิชาขาดความสัมพันธ์กันการจัดเรียงลำดับเนื้อหาวิชาไม่ยึดหลักจิตวิทยาพัฒนาการและความต้องการของเด็ก มุ่งแต่ให้จำความรู้และฝึกทักษะการคิดคำนวณเพียงอย่างเดียวไม่มีกิจกรรมให้ผู้เรียนปฏิบัติฝึกกระบวนการแก้ปัญหา ทำให้ขาดทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผล และขั้นตอนการนำไปใช้แก้ปัญหาในสังคม การแก้ไขทำได้โดยรวบรวมเนื้อหาวิชาที่จะสอนให้เป็นกลุ่มวิชาซึ่งมี 2 วิธีคือ
1.1 หลักสูตรสหสัมพันธ์ (The Correlated Field Curriculum ) นำรายวิชาที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ เลข-พีชคณิต สุขศึกษา-พลานามัย เป็นต้น
1.2 หลักสูตรกว้าง (The Broad Field Curriculum ) นำรายวิชามารวมกันเป็นกลุ่มวิชาเป็นกลุ่มภาษา กลุ่มวิชาสังคมศึกษา กลุ่มคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ กลุ่มวิชาการงาน-พื้นฐานอาชีพ เป็นต้น
อย่างไรก็ดีหลักสูตรเนื้อหาวิชายังมีข้อดี เนื่องจากไม่มีใครสามารถศึกษาวิชาหนึ่งวิชาเดียวในขณะเดียวกันได้ทั้งหมด เช่นเดียวกับผู้สอนก็ไม่เชี่ยวชาญทั้งกลุ่มวิชาหรือวิชารวม เช่นเชียวชาญพีชคณิตแต่ไม่ถนัดเรขาคณิต หรือเก่งขับร้องแต่รำละคร
ไม่สวยหรือวาดภาพไม่เก่ง ส่วนเรื่องความสนใจสามารถสร้างได้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบต่างๆ
2. หลักสูตรกิจกรรม (The Activity Curriculum ) ต่อมาเป็นหลักสูตรโครงการ (The Project Curriculum ) และหลักสูตรประสบการณ์ (The Experience Curriculum ) ซึ่ง John Dewey เป็นผู้คิดขึ้นและได้ทดลองที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก เมื่อต้นศตวรรษที่20 โดยมีหลักการว่า หลักสูตรย่อมขึ้นอยู่กับความสนใจหรือความต้องการของผู้เรียนซึ่งมี 4 ประการคือ
2.1 ความต้องการด้านสังคม
2.2 ความต้องการสร้างสรรค์
2.3 ความต้องการจะค้นคว้าทดลอง
2.4 ความต้องการที่จะแสดงออกด้านต่างๆ
หลักสูตรจะเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่ โดยการจัดกิจกรรมหรือจัดโครงการให้เด็กทำกิจกรรมโดยให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของเด็กทั้ง 4 ด้านคือร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ควบคู่ไปกับความสนใจของเด็ก
ต่อมา J.L. Meriam ได้พัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมและได้ทดลองในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ William H. Kilpatrick ได้เขียนวิธีสอนแบบโครงการและ Ellsworth Collings ได้เขียนหนังสือชื่อ An Experiment with a Project Curriculum


หลักการของหลักสูตรประเภทนี้คือ
1. เนื้อหาวิชาในหลักสูตรเปลี่ยนแปลงไปตามความสนใจหรือความต้องการของผู้เรียนโดยสังเกตจากเด็กไม่ใช่ครูกำหนดเอง
2. การวางแผนการเรียนเป็นการวางแผนร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน โดยครูต้องยั่วยุให้นักเรียนคิดและออกความเห็น
3. ใช้วิธีการแก้ปัญหาเป็นหลักการเรียนการสอน เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาไม่ใช่คำตอบที่หามาได้จากการแก้ปัญหานั้น ส่วนวิชาถือเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้โดยตรง ในการแก้ปัญหาต้องใช้เกือบทุกวิชาเข้าช่วย ครุผู้สอนต้องพยายามสร้างสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขึ้นและให้นักเรียนใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
4. วิชาพิเศษจะเกิดขึ้นได้เรื่อยๆ เมื่อนักเรียนมีความสนใจขึ้นมา ดังนั้นหลักสูตรจึงไม่ตายตัว แต่เปลี่ยนไปตามความสนใจของผู้เรียน ครูจะเป็นผู้ช่วยเหลือแนะนำวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการวางแผนและทำงานร่วมกัน
3. หลักสูตรแกน (The Core Curriculum ) มาจากความคิดของ Johann F. Herbart ชาวเยอรมันซึ่งได้แสดงการรวมความคิดเห็นเข้าด้วยกัน เป็นการรวมเอาวิชาการและสาขาวิชาต่างๆ เรียก Concentration เนื่องจากหลักสูตรทั่วไปในโรงเรียนมัธยมศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- วิชาบังคับ (Required or constants ) ทุกคนต้องเรียน
- วิชาเลือก (Variables ) บังคับเฉพาะกลุ่มที่ต้องการเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง
- วิชาเลือกเสรี (Electives ) ใครๆก็เลือกเรียนได้
แต่หลักสูตรวิชาแกน หมายถึง วิชาที่บังคับให้ทุกคนเรียน เพื่อให้มีประสบการณ์อย่างเดียวกันหลักสูตรประเภทนี้ได้ถูกนำไปทดลองแล้วได้ผลดีมากที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยโอไฮโอ โดยมีลักษณะดังนี้
1. เน้นคุณค่าทางสังคมเป็นหลักในการจัดหลักสูตร มีการจัดปัญหาสังคมเป็นหมู่เพื่อให้นักเรียนคิดแก้ปัญหา
2. รูปแบบหลักสูตรกำหนดจากปัญหาและความเป็นอยู่ในสังคม โดยจัดในรูปหน่วยหรือปัญหา เช่น การป้องกันและรักษาชีวิต ทรัพย์สิน และทรัพยากรธรรมชาติ
3. วิชาที่เป็นแกนเป็นวิชาบังคับสำหรับนักเรียนทุกคน
4. การวางแผนและการกำหนดกิจกรรมต่างๆ เป็นการร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน
5. วิชาประเภททักษะ เช่น การอ่าน การเขียน อาจจะสอนให้นักเรียนเป็นพิเศษ เมื่อครูเห็นว่าจำเป็น

กิจกรรมหลักสูตรประเภทต่างๆ
หลักสูตรประเภทต่างๆจำแนกไปตามคุณลักษณะที่ผู้จัดทำหลักสูตรต้องการเน้น ดังต่อไปนี้
1. เน้นความสามารถเฉพาะอย่าง (Specific Competencies) การวางหลักสูตรถือว่ามีกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทำในอนาคตไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง โดยมีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจุดหมาย กิจกรรมการเรียน และสิ่งที่จะทำในอนาคต เช่นการพูดและเขียนเพื่อสื่อความคิดกับบุคคลอื่นๆ เป็นวิชาทักษะเบื้องต้น การทำบัญชีสำหรับนักเรียนสายอาชีวศึกษาต้องเรียนวิชาบัญชี การก่อสร้าง หรือการออกแบบ เป็นต้น
2. เน้นเนื้อหาวิชา (Discipline or Subjects) หลักสูตรประเภทนี้จะเลือกเนื้อหาวิชามาจากองค์ความรู้แล้วจัดให้เป็นขั้นตอนเป็นระบบเพื่อใช้ในการสอนในห้องเรียน ดังนั้นหลักสูตรจึงค่อนข้างตายตัว ไม่เปลี่ยนไปตามความสนใจและความสามารถเฉพาะของผู้เรียน เป็น subject-matter centered
3. เน้นกิจกรรมและปัญหาทางสังคม (Social Activities and Problems) หลักสูตรจะตั้งบนรากฐานความเชื่อ 3 ประการคือ
3.1 หลักสูตรควรเป็นไปตามหน้าที่ที่บุคคลควรจะมีต่อสังคมหรือสภาพชีวิตในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
3.2 การจัดหลักสูตรควรคำนึงถึงปัญหาของชีวิตในชุมชน
3.3 โรงเรียนควรจะมีหน้าที่ช่วยเหลือปรับปรุงสังคมโดยการเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง
ดังนั้นการวางหลักสูตรจึงต้องคำนึงถึงกิจกรรมหรือปัญหาในสังคมมากกว่าเนื้อหาวิชาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์ความรู้ และต้องทราบกิจกรรมของกลุ่มชนในสังคม ซึ่งนักเรียนต้องได้รับการพัฒนาทักษะเพื่อให้สามารถอยู่กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในกิจกรรมของสังคม วิชาที่ใช้เป็นรากฐานในการจัดหน่วยการเรียนคือ วิชาสังคมศึกษา
4. เน้นทักษะกระบวนการ (Process Skills ) หมายถึง การเน้นในเรื่องกระบวนการเรียนรู้และการสร้างทักษะ รวมถึงกระบวนการสอน หลักสูตรประเภทนี้ถือว่ากระบวนการเรียนรู้เช่น กระบวนการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่จะกำหนดเนื้อหาวิชาที่จะนำเข้ามาสอนในหลักสูตรหรือเนื้อหาวิชาเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการ เช่น การพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้รู้จักการตัดสินใจอย่างรอบคอบโดยพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่ได้มา ดังนั้นตัวความรู้เองไม่ค่อยจะมีประโยชน์ต่อชีวิตมากเท่าวิธีการหรือกระบวนการที่จะได้ความรู้มาซึ่งจะเป็นเครื่องมือส่งเสริมความเจริญงอกงามโดยเฉพาะสติปัญญาของผู้เรียน
5. เน้นความต้องการและความสนใจส่วนบุคคล (Individual Needs and Interests) หลักสูตรประเภทนี้จะปรับเนื้อหาวิชาที่จะเรียนให้สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนที่เรียกว่าเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักสูตรจึงมีความยืดหยุ่นมากในการจัดวิชา วิธีจัดวิธีหนึ่งคือการจัดกลุ่มนักเรียนตามความสนใจและความสามารถในแต่ละระดับชั้น การใช้ระบบวิชาเลือก หรือการจัดเป็นสายวิชาเช่น สายวิทยาศาสตร์ สายศิลปะ ฯลฯ รวมทั้งการจัดแบ่งกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษเช่น กลุ่มปัญญาเลิศ กลุ่มผู้เรียนช้า และกลุ่มที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม ศาสนาและภาษาต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น